fbpx

9 วิธีป้องกันและข้อควรระวัง ของ ‘อาการปวดเข่า’

9 วิธีป้องกันและข้อควรระวัง ของ ‘อาการปวดเข่า’

บางคนอาจมีอาการปวดเข่าจี๊ดขึ้นมาโดยไม่ทันตั้งตัว โดยสาเหตุของอาการเจ็บปวดบริเวณหัวเข่านั้น อาจมีอยู่หลายประการ ไม่ว่าจะเกิดจากการได้รับบาดเจ็บ หรือโรคไขข้ออักเสบ เป็นต้น

9 ข้อ สิ่งที่ควรปฏิบัติและสิ่งที่ควรระวัง เพื่อช่วยให้หัวเข่าของคุณไม่เกิดการเจ็บปวดจี๊ดๆ

1) อย่าพักผ่อนมากจนเกินไป :
การพักผ่อนที่มากเกินความจำเป็น อาจไปลดความสามารถในการทำงานของกล้ามเนื้อของคุณได้ ซึ่งจะทำให้มีอาการปวดตามข้ออย่างรุนแรง โดยคุณควรที่จะหาโปรแกรมการออกกำลังกายที่ปลอดภัยและเหมาะสมสำหรับหัวเข่า ถ้าหากคุณเกิดความไม่มั่นใจว่า การเคลื่อนไหวลักษณะใดที่ปลอดภัยต่อหัวเข่า คุณอาจขอคำปรึกษาจากแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดเสริมเพิ่มเติมได้

2) การออกกำลังกาย :
การออกกำลังกาย เช่น การเดิน, การว่ายน้ำ, การเต้นแอโรบิกในน้ำ และการปั่นจักรยาน จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบริเวณหัวเข่าและยังเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่ร่างกายได้ ในผู้สูงอายุอาจใช้วิธีการออกกำลังกายเบาๆ เช่น การรำไทเก็ก จะช่วยลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อและสร้างความสมดุลให้แก่ร่างกายอีกด้วย

3) การเกิดแรงกระแทกอย่างรุนแรง :
อาการเจ็บปวดบริเวณหัวเข่านั้น หลายๆครั้งมาจากอุบัติเหตุหรือการได้รับบาดเจ็บในลักษณะที่ทำให้หัวเข่าเกิดการกระแทกกับของแข็งอย่างรุนแรง เช่น การตกบันได การหกล้ม หรือการเดินชนกับขาเตียง เป็นต้น ดังนั้นควรมีแสงสว่างที่พอเพียงต่อการมองเห็น และใช้ชีวิตแบบไม่ประมาท

4) การใช้ความเย็นบำบัด :
สำหรับอาการปวดเข่าที่มีสาเหตุมาจากการได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยหรือมีการอักเสบธรรมดานั้น เราสามารถใช้น้ำแข็งประคบเพื่อบรรเทาอาการปวดได้เลย

5) การมีน้ำหนักตัวที่มากเกินไป :
อย่ามองข้ามน้ำหนักของคุณ หากคุณมีน้ำหนักตัวที่เกินค่าดัชนีมวลกายปกติ มันจะส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อบริเวณหัวเข่าของคุณ และทำให้มีอาการเจ็บปวดทรมาน ซึ่งวิธีแก้ไขง่ายๆแต่ทำยาก ก็คือ ‘การลดน้ำหนัก’

6) การใช้อุปกรณ์เสริมเพื่อช่วยเดิน :
จงอย่าอาย หากคุณอายุยังน้อย แต่ใช้ไม้เท้าหรือไม้ค้ำเวลาเดินเหิน เพราะอุปกรณ์เสริมเหล่านี้ จะช่วยลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อบริเวณหัวเข่า และยังช่วยให้คุณสามารถก้าวเดินได้อย่างมั่นคง

7) การฝังเข็ม :
การฝังเข็ม เป็นการรักษาทางการแพทย์จีนโบราณ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการใช้เข็มสลักจุดต่างๆในร่างกาย โดยปัจจุบันมีการใช้วิธีการฝังเข็มกันอย่างแพร่หลาย เพื่อช่วยลด/บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย

8) การเลือกสวมใส่รองเท้า :
อย่าคิดว่ารองเท้าไม่มีผลต่อความเจ็บปวด ถ้าพื้นรองเท้าไม่ดีหรือไม่สามารถซัพพอร์ตเท้าของคุณได้ มันส่งผลต่ออาการปวดเข่าแน่นอน คุณควรเลือกสวมใส่รองเท้าสุขภาพ เพื่อช่วยลดความเครียดของกล้ามเนื้อบริเวณหัวเข่าลงได้ และเวลานอนอาจใช้หมอนรองขาเอาไว้ด้วย สำหรับผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม หากต้องการหาพื้นรองเท้าที่เหมาะสม ก็สามารถปรึกษาแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดได้เลย โดยส่วนใหญ่แพทย์มักจะแนะนำให้มี insoles ใส่บนพื้นรองเท้าของคุณ

9) การออกกำลังกายแบบโลดโผน :
การออกกำลังกายที่ยากและใช้แรงงานสูง สามารถทำร้ายหัวเข่าของคุณให้เจ็บปวดได้ คุณควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายแบบโลดโผน เช่น วิ่งกระโดดและคิกบ็อกซิ่ง ซึ่งการออกกำลังกายลักษณะนี้ อาจทำให้ความเจ็บปวดบริเวณเข่าทวีคูณขึ้น และหากออกกำลังกายอย่างไม่ถูกวิธีอาจเป็นอันตรายได้

แต่ถึงยังไงอาการต่างๆ ก็มักจะ มีอาการปวดเข่าแบบเรื้อรัง ขึ้นมาในอนาคตหากรักษาไม่ถูกวิธี แต่วิธีที่ดีที่สุดของการป้องกันตั้งแต่เนินๆ ควรดูแลสภาพร่างกายของตัวเองไม่ให้เกิดการอักเสบหรือปวดบวม แนะนำ สเปรย์ราฟา ยาสมุนไพรที่ใช้ฉีดพ่นบริเวณที่ปวดเมื่อยได้เป็นอย่างดี

เข้าสู่ระบบ

โทร