fbpx

กล้ามเนื้ออักเสบ อาการที่ห้ามมองข้าม

การอักเสบของกล้ามเนื้อ หรือการฉีกขาดของกล้ามเนื้อ หมายถึงความเสียหายบริเวณกล้ามเนื้อหรือเอ็นยึด อันเนื่องมาจากการใช้งานกล้ามเนื้อที่ไม่เหมาะสมกับการทำกิจวัตรประจำวันตามปกติ ซึ่งอาจเกิดจากการยืดกล้ามเนื้อ/เส้นเอ็นอย่างฉับพลัน ระหว่างการเล่นกีฬาหรือขณะทำงาน

กล้ามเนื้อที่เกิดอาการอักเสบนั้น อาจอยู่ในรูปของการฉีกขาดของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น ซึ่งอาจสร้างความเสียหายกับหลอดเลือดขนาดเล็ก ทำให้มีเลือดออกและรอยช้ำ ส่งผลต่อความเจ็บปวดกล้ามเนื้อ

ลักษณะอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

– อาการบวมช้ำหรือเกิดรอยแดง เนื่องจากการบาดเจ็บ
– มีอาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อเวลากลางคืน ในระหว่างการพักผ่อน
– ปวดเมื่อย เมื่อใช้งานกล้ามเนื้อหรือข้อต่อที่เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อที่เกิดการอักเสบ
– ความอ่อนแอของกล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็น
– ไม่สามารถใช้งานกล้ามเนื้อได้เลย

การรักษาด้วยตนเองของอาการกล้ามเนื้ออักเสบ

อาการบวม หรือการไหลเวียนเลือดของกล้ามเนื้อผิดปกติ สามารถจัดการเบื้องต้นได้ โดยการใช้ผ้าห่อน้ำแข็งประคบบริเวณที่เกิดจากอักเสบ ความเย็นจะช่วยบรรเทาอาการบวมให้ลดลง คำเตือนการใช้ความร้อนประคบ สามารถเพิ่มอาการบวมและเจ็บปวดได้

หมายเหตุ: ห้ามใช้น้ำแข็งหรือความร้อนกับผิวโดยตรง จำเป็นต้องห่อด้วยผ้า หรือถุงต่างๆ เช่น การใช้ผ้าขนหนูคั่นระหว่างน้ำแข็งหรือความร้อนกับการประคบผ่านผิวหนัง

การดูแลทางการแพทย์ของโรคกล้ามเนื้ออักเสบ

หากคุณมีอาการบาดเจ็บบริเวณกล้ามเนื้ออย่างมีนัยสำคัญ คือถ้าการรักษาด้วยตนเอง ไม่สามารถช่วยบรรเทาได้ภายใน 24 ชั่วโมง ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

หากอาการบาดเจ็บของคุณเข้าขั้นวิกฤต คือไม่สามารถเดินได้ หรือมีอาการบวมและเจ็บปวดจนไข้ขึ้น หรือมีแผลเปิด คุณควรตรวจสอบอาการอย่างละเอียดในแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาล

การป้องกันโรคกล้ามเนื้ออักเสบ

1. หลีกเลี่ยงอาการบาดเจ็บ โดยการยืดเส้นยืดสายทุกวัน
2. เริ่มโปรแกรมการออกกำลังกาย โดยต้องมีการปรึกษากับแพทย์ร่วมด้วย
3. ยืดกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกาย
4. มีการวอร์มร่างกาย ก่อนการออกกำลังกายหนักๆ เช่น การวิ่งเบาๆอยู่กับที่สัก 2-3 นาที ก่อนออกกำลังกายจริง

เข้าสู่ระบบ

โทร