fbpx

เพราะอะไรเราถึงรู้สึกปวดเมื่อยตามร่างกาย?

เพราะอะไรเราถึงรู้สึกปวดเมื่อยตามร่างกาย?

อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ถือเป็นเรื่องปกติ ซึ่งเป็นอาการที่มาจากสาเหตุหลากหลายและไม่เป็นอันตราย แต่จำเป็นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการปวดเมื่อย เพื่อที่จะได้ทำการรักษาหรือบรรเทาอาการปวดตามร่างกายได้อย่างถูกต้อง

สาเหตุหลายประการของการปวดเมื่อยตามร่างกาย จะสามารถระบุและรักษาได้โดยไม่ต้องไปพบแพทย์ ซึ่งการปวดเมื่อยตามร่างกายอาจแตกต่างกันตามความรุนแรงหรือความบ่อยครั้งของอาการปวด

ถ้าสามารถระบุตำแหน่งหรือระบุสาเหตุของอาการปวดเมื่อยได้ชัดเจน ก็จะช่วยให้ทำการรักษาได้อย่างเหมาะสมและรวดเร็ว

สัญญาณและอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย

อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย มักเกิดขึ้นควบคู่ไปกับอาการอื่นๆ การตระหนักถึงอาการแทรกซ้อน สามารถช่วยให้รับรู้สาเหตุของอาการปวดและพิจารณาได้ว่าควรไปพบแพทย์หรือไม่

อาการทั่วไปที่เกิดขึ้นควบคู่ไปกับอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย

มีดังต่อไปนี้
1) ความเจ็บปวด
2) ความอ่อนเพลียของร่างกาย
3) ความเหนื่อยล้า
4) อาการหนาวสั่น หรืออุณหภูมิในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง
5) ไข้หวัด หรือการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่

สาเหตุของอาการปวดเมื่อยตามร่างกายที่อาจเกิดขึ้นได้กับทุกคน

ร่างกายที่น่าปวดหัว ทำให้กิจกรรมทุกอย่างยากขึ้น ในบางครั้งร่างกายของเรามีอาการปวดเมื่อยจากการทำงานหนักหรือการออกกำลังกาย แต่ในบางครั้งสาเหตุของอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้ออาจซับซ้อนมากขึ้น หากคุณหรือคนที่คุณรู้จักมีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย จะช่วยให้คุณเข้าใจปัญหาพื้นฐาน ที่อาจเป็นสาเหตุมาจากโรคไขข้อไปจนถึงโรคไข้หวัดใหญ่ ทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย จะเป็นเคล็ดลับในการบรรเทาความทุกข์ทรมานของร่างกาย

– Fibromyalgia (ไฟโบรมัยอัลเจีย: กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ เอ็น และเนื้อเยื่ออ่อน) เกิดความเจ็บปวด ความเมื่อยล้า และความแข็งตัวของกล้ามเนื้อ เป็นอาการของ Fibromyalgia ซึ่งเป็นอาการระยะยาว และทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยไปทั่วร่างกาย

– เพศหญิงในช่วงมีประจำเดือนจะรู้สึกเจ็บปวดหรือปวดเมื่อยตามร่างกาย ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติมาก ผู้หญิงจำนวน 42 ล้านคนในสหรัฐอเมริกา มีอาการเจ็บปวดตามร่างกายในช่วงประจำเดือนมา ซึ่งการบรรเบาอาการปวดเมื่อยนั้น ก็สามารถรับประทานยาตามปกติเช่นเดียวกับการเป็นไข้หวัดได้เลย

– ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ เป็นโรคที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายของเราไม่สามารถผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ได้มากพอ ซึ่งอาจมีอาการหลายอย่าง เช่น อาการกล้ามเนื้อเป็นตะคริว ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อข้อต่อ และปวดเมื่อยตามร่างกาย ในบางครั้งอาการปวดจะคลุมเครือและไม่เด่นชัด ข่าวดีก็คือต่อมไทรอยด์นี้ สามารถรักษาได้ โดยการรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง จะสามารถฟื้นฟูระดับฮอร์โมนของคุณให้เป็นปกติได้

– ระบบไหลเวียนเลือดไม่ดี ถ้าขาของคุณมีอาการปวดหลังจากการเดิน อาจเป็นสาเหตุมาจากการไหลเวียนเลือด (การอุดตันของหลอดเลือดแดง) ทำให้เป็นตะคริวหรือปวดขาทั้งสองข้าง เป็นภาวะหดตัวและแข็งตัวของหลอดเลือดแดง โดยโรคนี้ต้องรับยาตามคำสั่งแพทย์ และออกกำลังขาอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงจำเป็นต้องเลิกสูบบุหรี่ และลดไขมันในเส้นเลือดด้วย

– อาการปวดตามข้อต่อกระดูก อาจเกี่ยวข้องกับภูมิต้านตนเอง ที่เรียกว่า Lupus ทำให้ข้อต่อและเอ็นของคุณบวมขึ้น และทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ผู้ป่วยโรคนี้รายหนึ่ง ได้อธิบายความทุกข์ทรมานนี้ว่า ปวดเหมือนเป็นโรคไขข้ออักเสบ (Lupus แตกต่างจากโรคไขข้ออักเสบ คือ Lupus จะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อกระดูกและข้อต่อของคุณอย่างถาวร) เมื่อมีอาการก็สามารถทานยาแก้ปวดได้เลย และการอาบน้ำอุ่นก็สามารถช่วยบรรเทาอาการได้อีกด้วย

เข้าสู่ระบบ

โทร